วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แบบทดสอบ

1.ธาตุ A และ B เป็นไอโซโทปซึ่งกันและกัน จะมีอนุภาคใดต่างกัน

a. อิเล็กตรอน
b. โปรตรอน
c. เลขอะตอม
d. นิวตรอน

2. ข้อความใดที่เป็นสมมุติฐานของนีลส์โบร์เกี่ยวกับโครงสร้างอะตอม

a. ธาตุทุกชนิดมีสเปกตรัมที่เฉพาะตัว
b. อิเล็กตรอนจะเปลี่ยนระดับพลังงานเมื่อมีการดูดหรือคายพลังงาน
c. ธาตุหนึ่งชนิดอาจมีอนุกรมสเปกตรัมได้มากกว่า 1 ชุด
d. พลังงานที่อิเล็กตรอนดูดหรือคายต้องมีค่าที่เฉพาะแน่นอน

3. สรุปว่า อะตอมทุกชนิดมีอนุภาคที่มีประจุลบเป็นองค์ประกอบ เรียกว่าอะไร?

a. โปรตอน
b.นิวตรอน
c.โฟตรอน
d.อิเล็กตรอน.


4. การที่รัทเทอร์ฟอร์ด ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง แล้วพบว่าโครงสร้างของอะตอมไม่เป็นไปตามแบบของทอมสัน เนื่องจากรัทเทอร์ฟอร์ดพบว่า

a. อนุภาคแอลฟาเกือบทั้งหมดเบนไปจากแนวเดิมเป็นมุมใด ๆ และบางทีมีการสะท้อนกลับ
b. อนุภาคแอลฟาแบนไปจากเดิมทุกทิศทางเท่า ๆ กัน
c. อนุภาคแอลฟาทั้งหมดวิ่งทะลุผ่านแผ่นทองคำไปในแนวเกือบเป็นเส้นตรง
d. อนุภาคแอลฟาบางส่วนเบนไปจากแนวเดิมเป็นมุมใด ๆ ทั้งที่เป็นส่วนใหญ่ผ่านไปในแนว

5. ปฏิกิริยาเคมีที่ต้องการความร้อนเข้ามาช่วยในการเกิดปฏิกิริยาจะดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อม
ทำให้อุณหภูมิลดลง เป็นปฏิกิริยาเคมีชนิดใด?

a.ปฏิกิริยาเคมีไม่มีความร้อน

b.ปฏิกิริยาเคมีมีความร้อน

c. ปฏิกิริยาเคมีคายความร้อน

d. ปฏิกิริยาเคมีดูดความร้อน

6. การเพิ่มอุณหภูมิจะไม่เพิ่มสิ่งใดต่อไปนี้

a. ความเร็วของโมเลกุล

b. ความถี่ในการชนกันของอนุภาค

c. พลังงานกระตุ้น

d. อัตราการเกิดปฏิกิริยา

7. ข้อความเกี่ยวกับพันธะเคมีข้อใดถูก

a. พันธะเคมีเกิดขึ้นเมื่อแต่ละอะตอมมีอิเล็กตรอนเป็นจำนวนคี่เท่านั้น

b. พลังงานของพันธะเคมีจะเพิ่มขึ้นตามความยาวของพันธะเคมี

c. พันธะเคมีเกิดจากแรงกระทำระหว่างอิเล็กตรอนคู่กับอิเล็กตรอน

d. พันธะเคมีเกิดขึ้นจากแรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสและอิเล็กตรอน

8. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดผิด

a. สารประกอบไอออนิกมักจะเกิดระหว่างธาตุที่มีพลังงานไอออไนเซชันต่ำกับธาตุที่มีอิเล็กโทรเนกาติวิตี้สูง

b. เมื่อหลอมเหลวสารประกอบไอออนิกนำไฟฟ้าได้

c. การเกิดสารประกอบไอออนิกจะเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน

d. สารประกอบไอออนิกยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงไฟฟ้า

9. มุมพันธะในโมเลกุลของมีเทน แอมโมเนีย และน้ำ จะมีขนาดเรียงกันตามลำดับข้อใด

a. มีเทน > แอมโมเนีย > น้ำ

b. น้ำ > แอมโมเนีย > มีเทน

c. แอมโมเนีย > มีเทน > น้ำ

d. น้ำ > มีเทน > แอมโมเนีย

10. มวลของอะตอมคิดจากผลรวมของอะไร

a.โปรตอน + อิเล็กตรอน

b.โปรตอน + นิวตรอน

c.นิวตรอน + อิเล็กตรอน

d.โปรตอน + นิวเคลียส



วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปฏิกิริยาเคมี




ปฏิกิริยาเคมี คือ ขบวนการที่สารตั้งต้นเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ ในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปริมาณของสารตั้งต้นย่อมลดลง ยิ่งเวลาผ่านไป ปริมาณของสารตั้งต้นก็จะยิ่งเหลือน้อยลง และปริมาณของผลิตภัณฑ์ก็จะเพิ่มมากขึ้น
ปฏิกิริยาเคมี มี 2 ประเภท คือ 1. ปฏิกิริยาคายพลังงาน (Exergonic reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วจะปล่อยพลังงานออกมามากกว่า พลังงานกระตุ้นที่ใส่เข้าไป 2. ปฏิกิริยาดูดพลังงาน (Endergonic reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วจะปล่อยพลังงานออกมาน้อยกว่า พลังงานกระตุ้นที่ใส่เข้าไป






ทฤษฎีที่อธิบายเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีCollision theory ( ทฤษฎี การชนกัน) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ปฏิกิริยาเกิดจากโมเลกุลของก๊าซวิ่งชนกัน และมีการถ่ายเทพลังงานให้กันละกัน โมเลกุลที่ไปชนโมเลกุลอื่นจะมีพลังงานต่ำลง ส่วนโมเลกุลที่ถูกชนจะมีพลังงานสูงขึ้นโมเลกุลที่เกิดปฏิกิริยา ได้ขึ้นอยู่กับ1. โมเลกุลวิ่งชนกันแล้วมีพลังงานสูงอย่างน้อยเท่ากับค่า Ea (พลังงานกระตุ้น หรือพลังงานก่อกัมมันต์) 2. ทิศทางการชนกัน ต้องชนกันในทิศทางที่เหมาะสม จึงจะเกิดปฏิกิริยา



ปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาเคมี

1. ธรรมชาติของสารตั้งต้น : สารตั้งต้นบางชนิดทำปฏิกิริยาได้เร็วแต่บางชนิดทำปฏิกิริยาได้ช้า เช่น แผ่นโลหะทองแดง หรือแผ่นโลหะเงินจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ช้ามาก แม้ว่าจะใช้เปลวไฟช่วยก็ไม่สามารถทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วได้ ส่วนแผ่นโลหะแมกนีเซียมสามารถติดไฟได้เร็วมาก หรือฟอสฟอรัสขาวสามารถติดไฟได้เลยในอากาศ เป็นต้น

2. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น :สารที่มีความเข้มข้นมากจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารที่มีความเข้มข้นน้อย การเพิ่มปริมาตรโดยมีความเข้มข้นเท่าเดิมการเกิดปฏิกิริยาก็ยังคเท่าเดิม

3. พื้นที่ผิวของสารตั้งตัน : การเพิ่มพื้นที่ผิวจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้เร็ว แต่จะมีผลต่อปฏิกิริยาเนื้อผสมเท่านั้นการเพิ่ม พ.ท. ผิวก็คือการเพิ่มความถี่ในการชนกันนั้นเอง

4. อุณหภูมิ : การเพิ่ม อุณหภูมิ เป็นการเพิ่มพลังงานจลน์ให้แก่อนุภาค ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่เร็วขึ้น จึงเพิ่มโอกาสการชนกัน

5. ตัวเร่ง และตัวหน่วง ปฏิกิริยา มันจะไปลด / เพิ่ม Eaของปฏิกิริยา :ตัวเร่งปฏิกิริยา(catalyst)เป็นสารที่ช่วยเร่งให้ปฏิกิริยาเกิดได้เร็วขึ้น ตัวหน่วงปฏิกิริยา(Inhibitor)เป็นสารที่เมื่อเติมลงไปในปฏิกิริยาแล้วมีผลทำให้ เกิดปฏิกิริยาได้ช้าลง หรือหยุดยั้งปฏิกิริยาได้อย่างสิ้นเชิง

พันธะเคมี

ในชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไปจะพบว่าสารชนิดหนึ่ง ๆ มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และเมื่อต้องการทำให้แยกออกจากกันจะต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น น้ำ ซึ่งมีสูตรโมเลกุล H2O ที่อุณหภูมิห้องจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนในรูปของของเหลว เมื่อต้องการแยกโมเลกุลของน้ำออกจากกันจะต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่ง เช่น โดยการต้น ซึ่งเมื่อน้ำได้รับความร้อนจะระเหยกลายเป็นไอ ไอน้ำก็คือโมเลกุลของน้ำที่แยกตัวออกมาจากน้ำนั่นเอง ทั้งน้ำและไอน้ำมีสูตรโมเลกุลอย่างเดียวกันคือ H2O การที่ต้องใช้พลังงานเพื่อทำให้น้ำกลายเป็นไอแสดงว่าน้ำอยู่รวมกันเป็นของเหลวจะต้องมีแรงชนิดหนึ่งยึดเหนี่ยวโมเลกุลเข้าไว้ด้วยกัน เมื่อต้องการแยกโมเลกุลออกจากกันจึงต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่งใส่เข้าไปเพื่อทำลายแรงยึดเหนี่ยวนั้น แรงยึดเหนี่ยวดังกล่าวนี้เรียกว่า แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
นอกจากนี้ถ้าต้องการทำให้โมเลกุลของน้ำสลายตัวเป็นก๊าซ H2 และ O2 ก็จะต้องใช้พลังงานอีกจำนวนหนึ่ง การที่น้ำซึ่งประกอบด้วยธาตุ H และ O ต้องใช้พลังงานเพื่อทำให้สลายตัวก็ย่อมแสดงว่าในระหว่าง H กับ O ที่รวมตัวกันเป็น H2O จะต้องมีแรงยึดเหนี่ยวอีกประเภทหนึ่งยึดอะตอมเข้าไว้ด้วยกัน การทำให้สลายตัวจึงต้องใช้พลังงานเพื่อทำลายแรงยึดเหนี่ยวนั้น แรงยึดเหนี่ยวดังกล่าวเรียกว่าแรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล จากตัวอย่างของน้ำพอที่จะสรุปได้ว่าสารชนิดต่าง ๆ นั้นควรจะมีแรงซึ่งยึดเหนี่ยวอนุภาคของสารเข้าไว้ด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลซึ่งทำให้โมเลกุลของสารอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และแรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุลซึ่งทำให้อะตอมสามารถอยู่รวมกันเป็นโมเลกุลได้



พันธะเคมี คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมกับอะตอมภายในโมเลกุล เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่ทำให้เกิดโมเลกุลของสาร



พันธะโคเวเลนต์
พันธะโคเวเลนต์ (Covalent bond) มาจากคำว่า co + valence electron ซึ่งหมายถึง พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน ดังเช่น ในกรณีของไฮโดรเจน ดังนั้นลักษณะที่สำคัญของพันธะโคเวเลนต์ก็คือการที่อะตอมใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันเป็นคู่ ๆ
สารประกอบที่อะตอมแต่ละคู่ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เรียกว่า สารโคเวเลนต์
โมเลกุลของสารที่อะตอมแต่ละคู่ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เรียกว่า โมเลกุลโคเวเลนต์



การเกิดพันธะโคเวเลนต์
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าพันธะโคเวเลนต์ เกิดจากการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน ซึ่งอาจจะใช้ร่วมกันเพียง 1 คู่ หรือมากกว่า 1 คู่ก็ได้
อิเล็กตรอนคู่ที่อะตอมทั้งสองใช้ร่วมกันเรียกว่า “อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ”
อะตอมที่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่า อะตอมคู่ร่วมพันธะ
ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะเดี่ยว เช่น ในโมเลกุลของไฮโดรเจน
ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะคู่ เช่น ในโมเลกุลของออกซิเจน
ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะสามเช่น ในโมเลกุลของไฮโดรเจน
จากการศึกษาสารโคเวเลนต์จะพบว่า ธาตุที่จะสร้างพันธะโคเวเลนต์ส่วนมากเป็นธาตุอโลหะกับอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากโลหะมีพลังงานไอออไนเซชันค่อนข้างสูง จึงเสียอิเล็กตรอนได้ยาก เมื่ออโลหะรวมกันเป็นโมเลกุลจึงไม่มีอะตอมใดเสียอิเล็กตรอน มีแต่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ อย่างไรก็ตามโลหะบางชนิดก็สามารถเกิดพันธะโคเวเลนต์กับอโลหะได้ เช่น Be เกิดเป็นสารโคเวเลนต์คือ BeCl2 เป็นต้น







ลักษณะสำคัญของพันธะโคเวเลนต์
1. พันธะโคเวเลนต์ เป็นพันธะที่เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง กับอะตอมที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูงด้วยกัน
2. ธาตุที่เกิดพันธะโคเวเลนต์ได้เป็นอโลหะ เพราะอโลหะมีพลังงานไอออไนเซชัน (IE) ค่อนข้างสูง จึงเสียอิเล็กตรอนได้ยาก จึงไม่มีฝ่ายใดเสียอิเล็กตรอน แต่จะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน







พันธะไอออนิก
ความหมายและการเกิดพันธะไอออนิก
พันธะไอออนิก (Ionic bond) คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสาร โดยที่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ ให้เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออนไนเซชันสูง กลายเป็นไอออนที่มีประจุบวกและประจุลบ เมื่อไอออนทั้งสองเข้ามาอยู่ใกล้กันจะเกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าที่แข็งแรงระหว่างประจุไฟฟ้าตรงข้ามเหล่านั้น ทำให้ไอออนทั้งสองยึดเหนี่ยวกันด้วย พันธะเคมีที่เรียกว่า “พันธะไอออนิก”
ตัวอย่างเช่น โครงสร้างของผลึกโซเดียมคลอไรด์เป็นของแข็ง รูปลูกบาศก์ ใสไม่มีสีในผลึก มีโซเดียมไอออนสลับกับคลอไรด์ไอออน เป็นแถว ๆ ทั้งสามมิติ มีลักษณะคล้ายตาข่าย โดยที่แตละไอออนจะมีไอออนต่างชนิดล้อมรอบอยู่ 6 ไอออน ดังรูป 2 รูป ข้างล่างดังนี้




โครงผลึกของสารประกอบโซเดียมคลอไรด์



เนื่องจากโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ และอโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง ดังนั้นพันธะไอออนิกจึงเกิดระหว่างธาตุโลหะ และอโลหะได้ดี กล่าวคือ อะตอมของโลหะให้เวเลนต์อิเล็กตรอนกับอะตอมของอโลหะ แล้วเกิดไอออนบวกของโลหะ และไอออนลบของอโลหะ ไอออนทั้งสองจะส่งแรงดึงดูดระหว่างประจุบวกและลบ เกิดเป็นพันธะไอออนิก และการที่โลหะให้เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อโลหะ เพื่อปรับให้มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเป็นแปด แบบก๊าซเฉื่อย ส่วนอโลหะรับเวเลนต์อิเล็กตรอนมานั้นก็เพื่อปรับตัวเองให้เสถียรแบบก๊าซเฉื่อยเช่นกัน ไอออนบวกกับไอออนลบจึงดึงดูดกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้าเกิดเป็นสารประกอบไอออนิก (Ionic compound)




พันธะโลหะ
พันธะโลหะ (Metallic bond) คือ พันธะที่เกิดเนื่องจากแรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกซึ่งเรียงชิดกันกับเวเลนต์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อยู่โดยรอบทั้งก้อนโลหะ และการที่เวเลนต์อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ เพราะโลหะเป็นธาตุที่มีเวเลนต์อิเล็กตรอนน้อยและมีค่าพลังงานไอออนไนเซชันต่ำ จึงทำให้เกิดกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนและไอออนบวกได้ง่าย อนึ่ง พันธะโลหะมีเวเลนต์อิเล็กตรอนที่ยึดกับไอออนบวกไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งเพียงอะตอมเดียว แต่เวเลนต์อิเล็กตรอนทุกตัวสามารถเคลื่อนที่ไปยังอะตอมอื่น ๆ ได้ ซึ่งแตกต่างจากพันธะโคเวเลนต์ ทั้งนี้เพราะในก้อนโลหะแต่ละอะตอมจะมีอะตอมอื่นล้อมรอบ 8 หรือ 12 อะตอม อะตอมจึงมีเวเลนต์อิเล็กตรอนไม่พอที่จะทำให้เกิดคู่อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมพันธะระหว่างอะตอมแต่ละอะตอมเข้าด้วยกันทั้งหมดได้ ดังแบบจำลองของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน (Electron-sea model) ของก้อนโลหะ




























โครงสร้างอะตอม





"ไม่มีใครรู้ว่าถ้าไม่มีนีลส์ บอร์ แล้ว เราจะรู้เกี่ยวกับเรื่องของอะตอมได้อย่างไร" นี้คือคำกล่าวของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์อันดับหนึ่งของโลกที่กล่าวถึงนักฟิสิกส์ผู้นี้ บอร์เป็นนักฟิสิกส์ที่เปิดเผยความลับของอะตอมผู้ที่อยู่ในยุคเดียวกับอัลเบิร์ตไอน์สไตน์ และมีความเป็นอัจฉริยะไม่แพ้กันเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งบอร์ยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งที่ทำให้การสร้างระเบิดปรมาณูประสบความสำเร็จ สิ่งที่เป็นการยืนยันได้ดีก็คือ รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ที่เขาไดัรับการจากการค้นพบทฤษฎีอะตอม ในปี ค.ศ.1922 นั่นเอง




ดีโมครีตัสกล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างประกอบขึ้นจาก อนุภาคที่เล็กมาก เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ อนุภาคเล็กๆเหล่านี้จะรวมพวกเข้าด้วยกันโดยวิธิการต่างๆ สำหรับอนุภาคเองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถจะแตกแยกออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กลงไปอีกได้ ดีโมครีตัสตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า "อะตอม (Atom)" จากภาษากรีกที่ว่า atoms ซึ่งมีความหมายว่า "ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก" ตามความคิดเห็นของเขา อะตอมเป็นชิ้นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารที่สามารถจะคงอยู่ได้



ธาตุ




ธาตุคืออะไร
ธาตุ
คือ สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากอะตอมชนิดเดียวกัน
ดังนั้น - อะตอมคือ หน่วยที่เล็กที่สุดของธาตุ ซึ่งสามารถแสดงสมบัติของธาตุนั้นๆ ได้
- ธาตุต่างชนิดกันจะมีสมบัติต่างกัน



ธาตุ ต่างจาก สารประกอบอย่างไร
สารประกอบ
คือ สารที่เกิดจากอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน





อนุภาคมูลฐานในอะตอม



จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ทำให้เราทราบว่าในอะตอมของธาตุต่างๆ ยกเว้นไฮโดรเจน (H) จะประกอบด้วยอนุภาคหลัก 3 ชนิดคือ
1. โปรตอน (p) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็น บวก (+1)
2. นิวตรอน (n) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็น กลาง (0)
3. อิเล็กตรอน (e) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็น ลบ (-1)




ดังนั้น จึงเรียกอนุภาคทั้ง 3 ชนิดนี้ว่า อนุภาคมูลฐานในอะตอม โดยในอะตอมที่เป็นกลางจะมีจำนวนของโปรตอน (p) เท่ากับ จำนวนของอิเล็กตรอน (e)


นักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าอะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม มีโปรตอน (p) และนิวตรอน (n) รวมกันอยู่ตรงกลางซึ่งเรียกว่า นิวเคลียส นิวเคลียสจะมีขนาดเล็ก แต่มีมวลมาก อิเล็กตรอน (e) จะโคจรรอบนิวเคลียสเป็นบริเวณกว้างคล้ายกลุ่มหมอก ดังนั้นมโนภาพของอะตอมในปัจจุบัน จึงเป็นแบบจำลองอะตอมชนิดกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน



แบบจำลองอะตอมของดอลตัน สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า "อะตอม" อะตอมจะไม่สามารถแบ่งแยกได้ และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ อะตอมของธาตุต่างกันจะมีสมบัติต่างกัน ธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปสามารถรวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ โดยมีอัตราส่วนการรวมตัวเป็นตัวเลขอย่างง่าย


แบบจำลองอะตอมของทอมสันอะตอม มีลักษณะเป็นทรงกลม ประกอบด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นลบ อนุภาคโปรตรอนมีประจุเป็นบวก โปรตรอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ อะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า เพราะ มีจำนวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ


แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดอะตอม มีศูนย์กลางซึ่งเรียกว่า นิวเคลียส ซึ่งมีขนาดเล็ก มีประจุบวกเรียกว่าโปรตอนอยู่ และมีประจุลบที่เรียกว่าอิเล็กตรอนวิ่งอยู่ภายนอก


แบบจำลองอะตอม นีลส์ โบร์ อะตอมเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นวงกลมโดยแต่ละวงจะมีระดับพลังงานแตกต่างกันไป
โครงสร้างอะตอมอะตอม มีลักษณะเป็นทรงกลมแบบกลุ่มหมอก ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่มีมวลน้อยมาก 3 ชนิดได้แก่ นิวตรอน (Neutron) โปรตอน (Proton) และอิเล็กตรอน (Electron)มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางซึ่งภายในประกอบด้วยอนุภาคของนิวตรอนและโปรตอนอยู่ อาจเรียกว่านิวคลิออน (Nucleon) มีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปรอบๆนิวเคลียส ซึ่งไม่สามารถกำหนดความเร็ว ทิศทางและตำแหน่งที่แน่นอนได้ จึงทำให้โอกาส ที่จะพบอิเล็กตรอนในบริเวณหนึ่งๆไม่สม่ำเสมอ บริเวณที่สามารถพบอิเล็กตรอนได้ถูกเรียกว่า ออร์บิทัล (Orbital)บริเวณที่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะมีกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนที่หนาแน่นที่สุด ระดับพลังงานของอิเล็กตรอนถูกกำหนดให้แทนด้วย n = 1 และเมื่อห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น ความหนาแน่นของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนจะน้อยลง ค่าของระดับพลังงานของอิเล็กตรอนจะถูกกำหนดให้แทนด้วย n = 2 n = 3 n = 4 ตามลำดับ
ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม